‘พิมพ์ภัทรา’มั่นใจเปลี่ยนผ่าน ยานยนต์ไทยสู่รถอีวี ยึดTOP10ของโลก
วันที่ 7 มี.ค. นายปารเมศเหตระกูล กรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ เปิดเผยว่า ในโอกาสที่เดลินิวส์จะครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 28 มีนาคม 67 นี้ ในฐานะสื่อมวลชนที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ได้จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบรวมถึงการจัดงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” (Dailynews Talk 2024) เพื่อเผยแพร่ความรู้และทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยภายใต้หัวข้อ “เช็กความพร้อมยานยนต์ไทย สู่…ท็อปเท็นโลก อย่างยั่งยืน”
สำหรับงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทย สู่…ท็อปเท็นโลก” โดยกล่าวถึงความสำคัญและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบุว่า ในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมที่เป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์
ถ้ามองย้อนไปในอดีต อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย เริ่มต้นจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import Substitution) และวิวัฒนาการไปสู่การเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก (Export Promotion) ไปทั่วโลก ด้วยการมี Product champion เช่น รถกระบะ รถ ECO Car โดยในปี 2565 ประเทศไทยมีการผลิตยานยนต์รวม 1.9 ล้านคัน เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท
ที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมยานยนต์มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มี Supply Chain ที่ยาว เข้มแข็ง แผ่ขยายเป็นวงกว้าง มีคลัสเตอร์ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่มีอยู่ทั่วประเทศ แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์ยานยนต์ หรือ Maker เอง แต่แบรนด์ใหญ่แทบทุกรายล้วนมาตั้งฐานการผลิตและประกอบรถยนต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ของภูมิภาค ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ทั้งด้านการลงทุน การจ้างงาน การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการส่งออก
ความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยถึงจุดอิ่มตัว (mature stage) แล้ว คือ ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตยานยนต์ของไทยค่อนข้างคงที่ ประมาณ 2 ล้านคันบวกลบเล็กน้อย แบ่งเป็นขายในประเทศประมาณ 1 ล้านคัน และส่งออกประมาณ 1 ล้านคัน
นอกจากการที่ไม่เติบโตเป็นเหมือนเสือหลับแล้ว อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ยังต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เช่น การขับขี่อัตโนมัติ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั่วโลกมีเป้าหมายร่วมกันที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งนำมาของกระแสรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ซึ่งความท้าทายต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในอนาคต
คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ (Known-Unknown)
ปัจจุบันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยและของโลก และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางตลาดโลก แต่ก็คงต้องยอมรับว่ามีคำถามที่ยังไม่มีคำตอบมากมายเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น
-ภาพสัดส่วนของยานยนต์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เครื่องยนต์สันดาป (ICE) จะหายไปเลยหรือไม่ สุดท้ายแล้วยานยนต์ไฟฟ้า (EV) จะครองโลกหรือไม่
-เทคโนโลยีแบตเตอรี่จะเปลี่ยนไปอย่างไร แบตเตอรี่ Solid State จะมาเร็วแค่ไหน
-รถยนต์ที่ใช้ Fuel Cell หรือไฮโดรเจนจะมีศักยภาพที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่
-ค่ายรถยนต์ฝั่งอเมริกา ยุโรป หรือ จีน ใครจะเป็นผู้นำเทคโนโลยีในอนาคต
-ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (autonomous) และ ที่เชื่อมต่อกับสิ่งต่างๆ (connected) จะพัฒนาไปถึงระดับใด
-ระบบนิเวศหรือ Eco-system เช่น ต้องมีสถานี Charger มากเพียงใดจึงจะเพียงพอ และที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วเพียงใด
ยุทธศาสตร์และก้าวย่างของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ด้วยความไม่แน่นอน หรือ ความแปรปรวนของปัจจัยต่างๆ ตามที่ดิฉันยกตัวอย่างมาข้างต้น การที่จะกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย จึงไม่ใช่เรื่องง่าย การที่จะปลุกให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่เป็นเสือหลับให้ตื่นขึ้น เติบโต และกลับมายืนฉายแสงในภูมิภาคได้เหมือนในอดีต ต้องมียุทธศาสตร์ทั้งรุกและรับ
“ต้องลุยไปข้างหน้าในขณะที่ยังต้องมีความยืดหยุ่นปราดเปรียวพร้อมปรับตัว, ก้าวย่างต้องมีจังหวะที่พอเหมาะพอดี ไม่ช้าจนตกเวทีตามกระแสการเปลี่ยนแปลงไม่ทันแต่ก็ไม่เร็วจนหลุดโค้ง, ต้องมองทั้งระบบให้ครอบคลุมทุกประเภทรถคือ รถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์เชิงพาณิชย์ รถจักรยานยนต์, ในด้านการผลิตต้องครอบคลุมตั้งแต่ ตัวแบตเตอรี่และระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ มอเตอร์ต้นกำลัง ตัวรถยนต์, ส่วนด้านระบบนิเวศ ก็ต้องครอบคลุมระบบชาร์จ สถานีชาร์จ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องส่งเสริมทั้งในด้านฝั่งการผลิตหรือ supply และ ด้านตลาดผู้ซื้อ หรือ demand เป็นต้น”
การที่ประเทศไทยจะรักษาความเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ผสมผสานในหลายๆ ด้านทั้งยุทธศาสตร์ในเชิงรุก คือการใช้จุดแข็งที่ไทยมีในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในภูมิภาคเพื่อเร่งปรับตัวก้าวให้ทันกับกระแสของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งในไทยและในต่างประเทศ เพื่อไม่ให้ไทยตกจากเวทีโลก
ยุทธศาสตร์ในเชิงรับ เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมให้สามารถยืนหยัด (Last Man Standing) ในการพัฒนายานยนต์เดิมให้สะอาดและประหยัดขึ้น เพื่อรองรับกรณีหากทิศทางของยานยนต์ไฟฟ้าไม่ได้เติบโตอย่างที่คาดการณ์กันไว้
ยุทธศาสตร์ที่จะเติบโตในตลาดใหม่ เช่น การส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ประเภทเชิงพาณิชย์ ซึ่งยังไม่มีผู้เล่นในตลาดโลกมากนัก ถือเป็นโอกาสของผู้ผลิตของไทยที่ยกระดับการเป็นผู้ผลิตและการทำตลาด สำหรับทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก เป็นต้น
ผลการดำเนินการและมาตรการในอนาคต
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มีการตั้ง คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ด EV ซึ่งปัจจุบันมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเอง เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก” และเป้าหมายการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicles : ZEV) ในปี พ.ศ. 2573 หรือที่เรียกว่า “แผน 30@30” คือ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573 หรือปี ค.ศ. 2030 โดยมีมาตรการสำคัญ ดังนี้
-มาตรการสนับสนุนการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน BOI ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน โดยในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งเสริมการลงทุนแบ่งตามประเภทรถยนต์ ดังนี้ รถยนต์ไฮบริด มูลค่าส่งเสริมการลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด มูลค่าส่งเสริมการลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท และรถยนต์ไฟฟ้า BEV มูลค่าส่งเสริมการลงทุนประมาณ 40,000 ล้านบาท และในปี 2567 มีหลายบริษัทที่สนใจเริ่มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยด้วย
-มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทางด้าน demand ทั้งประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีส่วนในการผลักดันให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในปี 2566 สูงถึง 76,000 คันเศษ โดยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ มาตรการ EV3.5 เมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญในประเทศไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนรถยนต์สาธารณะ รวมถึงการส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง และกลุ่มบริการขนส่งสินค้าเดลิเวอรี ซึ่งมีจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร และในเมืองต่างๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
-มาตรการด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานยนต์ไฟฟ้า ชิ้นส่วน และอุปกรณ์สำหรับอัดประจุไฟฟ้า รวม 154 ฉบับ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ หรือ ATTRIC และศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่
นอกเหนือจาก การปรับเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น คือ การขับเคลื่อนแผน 30@30 ในส่วนของการผลิตที่เหลืออีกร้อยละ 70 คือ การพัฒนาการผลิตยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้เห็นชอบมาตรการในช่วงเปลี่ยนผ่าน ด้วยการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ ICE ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์กึ่งไฟฟ้า ได้แก่ รถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ปลั๊กอิน-ไฮบริด ซึ่งมีการใช้ชิ้นส่วนคล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าล้วน BEV เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และมีเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นทางเลือก ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษได้มากขึ้น
รวมทั้ง การขยายสิทธิประโยชน์ภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ ECO Car ซึ่งเป็น Product Champion ของประเทศ ให้มีเวลาปรับตัว เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นรถยนต์กึ่งไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฟฟ้าคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมี supply chain ที่เข้มแข็ง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และกำลังคน เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การจัดทำแนวทางในการปรับตัวของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยการส่งเสริมให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถปรับตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
รวมทั้ง ร่วมกับสถาบันยานยนต์พัฒนาทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม เช่น การจัดทำหลักสูตร ฝึกอบรมผู้ประกอบการและกำลังคนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อ Re-skill Up-skill และ New-skill ให้พร้อมปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อประเทศชาติ และประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการแบตเตอรี่ตลอดวงจรชีวิต นอกจากการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในประเทศแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าจากการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)คำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
ซึ่งกระทรวงฯ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในการศึกษา และกำหนดมาตรการ เพื่อส่งเสริมการ Reuse และ Recycle เพื่อนำแบตเตอรี่ใช้แล้วกลับมาผลิตเป็นแบตเตอรี่ใหม่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Energy Storage System: ESS) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมดิจิทัล และได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้พิจารณาจัดสรรพื้นที่เพื่อรองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Recycle ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้กำหนดมาตรการ และแนวทางการส่งเสริมอย่างเร่งด่วนต่อไป
“ยืนยันว่ากระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมเป็นหน่วยงานหลัก มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ยานยนต์พลังงานสะอาด และพร้อมก้าวเดินไปพร้อมกับภาคเอกชน และประชาชน โดยพร้อมรับฟัง ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมให้สามารถยืนหยัด (Last Man Standing) ในการพัฒนายานยนต์เดิมให้สะอาดและประหยัดขึ้น”
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่าการขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อผนวกกับศักยภาพของประเทศไทย ความพร้อมของปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ทั้งในเรื่องของสิทธิประโยชน์การลงทุน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้มีการวางรากฐานการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวทางช่วยเหลือซัพพลายเชนสำคัญ คือ “ความรู้คู่เงินทุน” และภาครัฐมีแรงจูงใจจาก บีโอไอ ที่สนับสนุนทั้งยานยนต์ไฟฟ้า ไฮบริด โดยอยากเห็นไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา เหมือนกับรถยนต์สันดาป และรัฐสามารถทำได้มีการสนับสนุนเต็มที่ พร้อมกับผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งจะยังทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และยานยนต์ไฟฟ้าท็อปเท็นของโลก
ขณะที่ในด้านผู้บริโภค ความต้องการของแต่ละพื้นที่มีหลากหลาย โดยภาครัฐเข้ามาสนับสนุน และปรับปรุงสถานีชาร์จ ให้มีผู้ลงทุนและภาครัฐผลักดันให้เพียงพอต่อความต้องการ
รมว.อุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า “เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะสามารถกลับมาเป็นเสือที่ตื่นและผงาดอยู่ในท็อปเท็นของฐานการผลิตยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้าของโลก พร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการรักษาโลกที่สวยงามใบนี้ พร้อมส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังต่อไปแน่นอน”